รู้หรือไม่ว่า นิสัยการบริโภคที่ไม่ยั่งยืนต่างๆ ของเราสร้างผลเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไรบ้าง?

1 มิถุนายน 2564

โพสต์โดย Admin


วิดีโอสั้นตอนที่  1  การเลือกกินของเราในทุกวันนี้  ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นได้อย่างไร

ทุกๆ ปีอาหารที่ผลิตให้ผู้บริโภคกินทั่วโลกเหลือทิ้งกว่า 1.3 พันล้านตัน หรือนํ้าหนักเท่ากับวาฬน้ำเงินกว่า 6 ล้านตัว นี้คือผลของอาหารที่ถูกทิ้งตลอดห่วงโซ่อุปทาน จากอาหารที่เสียระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือการขนส่ง ถึงอาหารที่ถูกทิ้งโดยร้านค้าและผู้บริโภค ในบางกรณี อาหารเหลือทิ้งที่มาจากผู้บริโภคเองอาจสูงถึง 40% ของทั้งหมด

 

การกินอาหารให้หมดสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศได้ถึง 87 กิกะตัน หรือ 87 พันล้านตัน การกินให้หมดเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่หลายๆ ครั้งก็เป็นเรื่องที่เราหลงลืมกันไป เวลาเราหิว เรามักจะอยากกินอาหารจนเกินพอดี เรากะปริมาณไม่ถูก จนสุดท้ายอาหารต้องเหลือทิ้ง หรืออาจมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่ทำให้เรากินอาหารได้ไม่หมด ทำให้เกิดเป็นขยะอาหารที่เป็นหนึ่งในตัวการเกิดก๊าซมีเทน นำไปสู่ภาวะโลกร้อน

 

โครงการ "กินดีกว่า" หรือ “EAT BETTER” ของ WWF ประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นปีค.ศ. 2019 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง WWF และองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อรณรงค์ผู้บริโภคและผู้ผลิตในการสนับสนุนรูปแบบการเลือกกินและการผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนความรู้ แรงบันดาลใจด้านการบริโภคและผลิตอาหารที่ยั่งยืน และเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคเพื่อรักษาโลกของเรา เช่น  การเปลี่ยนรูปแบบการกิน การจับจ่าย การจัดการ และสร้างความเข้าใจในรูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลองดูคลิปทั้งสองตอนเพื่อคความเข้าใจเรื่องการ “กิน” แบบที่ “ดีกว่า” เพื่อโลกที่เรารักกันค่ะ

 

ติดตามชมวิดีโอตัวถัดไป สำหรับแนวทางการช่วยลดขยะอาหาร เพื่อช่วยโลกของเรากันนะคะ 

 


ที่มา

Facebook page: Eat better – กินดีกว่า

https://www.wwf.or.th/en/scp/resources/videos/